top of page

ทำอย่างไร เมื่อต้องเข้าสู่ Home Isolation

อัปเดตเมื่อ 19 ส.ค. 2564


ท่ามกลางภาวะวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละวัน เกิดภาวะผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งประกาศงดรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ มีผู้ป่วยที่รอเตียงรักษาอยู่เป็นจำนวนมาก บุคลากรทางการแพทย์และเหล่าจิตอาสาต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำหน้าที่รักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยทุกคนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะได้กลับคืนสู่อ้อมอกของครอบครัวอย่างปลอดภัย


สถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ เราต่างทราบกันดีว่ารุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่จะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การรักษารูปแบบ Home Isolation ถูกกล่าวถึงและเริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายในขณะนี้


Home Isolation ทางออกวิกฤตผู้ป่วยโควิด-19 ล้นเตียง มีวิธีการอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้ศึกษาและทำความเข้าใจ โดย ดร.พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) ได้กล่าวถึงการทำระบบ Home Isolation ที่ทำงานร่วมกับชุมชนกว่า 23 ชุมชนหนาแน่นในเขตเมืองว่ามีการทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งระบบ Home Isolation และ Community Isolation มีจะทีมจิตอาสาในชุมชนซึ่งรู้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ชุมชน และเข้าใจครอบครัว รวมถึงสถานการณ์ในชุมชนเป็นอย่างดี จะประสานงานกันกับทีมแพทย์ พยาบาล ซึ่งทีมพยาบาลและจิตอาสาในชุมชนที่จะเข้ามาทำงานร่วมกันในระบบ Home Isolation และ Community Isolation นี้ ต้องผ่านการอบรม เรียนรู้ถึงขั้นตอน วิธีการก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในระบบได้ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย


ดังนั้น การทำ Home Isolation ต้องเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ ไม่ใช่แค่การแจกปรอทวัดไข้ หรือแจกยา สิ่งของที่จำเป็นไปให้ที่บ้านอย่างเดียว แต่เป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างครบองค์รวมเหมือนได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล


ดร.พญ.นิตยา กล่าวต่ออีกว่า การทำระบบ Home Isolation และ Community Isolation โดยการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคประชาสังคมนี้ เราต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิต ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงในผู้ป่วยติดเชื้อ เพราะฉะนั้นเราต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้เข้าถึงการรักษาโดยเร็วที่สุดและทำการรักษาให้เขาเป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นระดับสีเหลืองหรือสีแดง นอกจากนี้จะมีการขยายระบบไปสู่กลุ่มแรงงานข้ามชาติให้เข้าถึงระบบ Community Isolation มากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะลดลง สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เราจะต้องช่วยเหลือผู้ป่วยและชุมชนให้มากที่สุด


ก่อนจะเข้าสู่ระบบ Home Isolation จะมีการประเมินผู้ป่วยติดเชื้อก่อนว่า มีอาการของระดับผู้ป่วยโควิด-19 สีใด ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ ได้กำหนดไว้ ดังนี้

ระดับแรก อาการสีเขียว คือ อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เริ่มติดโควิด-19 มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดปกติ หรือไม่มีอาการ

ระดับสอง อาการสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 เริ่มจะมีอาการ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญข้อใดข้อหนึ่ง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อยอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน